(ไทย) Renderfarm แห่งชาติ

ช่วงหลังๆมานี้มี หลายคนถามผมว่าทำไม Renderfarm แห่งชาติในประเทศไทยจึงเกิดขึ้นไม่ได้ซักที เนื่องจากว่าผมได้มีส่วนเกี่ยวข้องในการติดตั้ง Renderfarm แห่งชาติทั้งที่ประเทศไทย (ซึ่งได้เงียบหายไป) และที่มาเลย์เซีย ผมจึงตัดสินใจเขียนเกี่ยวกับบทเรียนที่ได้รับมาจากการติดตั้ง Renderfarm ที่ประเทศมาเลย์เซีย เพื่อที่ว่าคนไทยจะสามารถเอามาใช้เป็นแบบอย่างในการสร้างระบบได้อย่างสมบูรณ์ที่ นี่ด้วย ผมจะไม่ขอพูดถึงข้อเสียของระบบที่นี่เพราะผมถือว่าเป็นอะไรที่ผ่านไปแล้ว

โปรเจ็กต์เริ่มต้นด้วยการที่ IBM ได้ชักชวนผมเข้าไปปรึกษาทางด้านระบบ Renderfarm แห่งชาติของประเทศมาเลย์เซีย เนื่องจากว่าผมมีความเชี่ยวชาญทางด้านนี้จากการออกแบบและติดตั้ง Renderfarm สำหรับโปรเจ็กต์ก้านกล้วย และสำหรับ Renderfarm แห่งชาติของประเทศไทย ซึ่งทางผมได้อธิบายให้ทีมงานของ MDeC (หน่วยงานพัฒนา Multimedia ของมาเลย์ฯ) เข้าใจอย่างค่อนข้างชัดเจนว่าการสร้าง Renderfarm เหมือนโปรเจ็กต์ Technology ทั่วไปตรงที่เขาต้องมีองค์ประกอบ 3 ประการเพื่อให้โปรเจ็กต์นี้ประสบความสำเร็จ อันได้แก่

  1. Users – ส่วนที่สำคัญที่สุดคือผู้ใช้ ระบบต้องตอบสนองต่อความต้องการของผู้ใช้งานได้อย่างแท้จริงและสามารถที่จะ อำนวยความสะดวกได้อย่างเต็มที่ รายละเอียดอย่างเช่นซอฟท์แวร์ที่มีอยู่ในระบบ วิธีการเข้าสู่ระบบ กลไกในการแก้ปัญหาที่อาจเกิดขึ้น วิธีการแปลงไฟล์ข้อมูลเพื่อส่งเข้าไปในระบบ ตำแหน่งและรูปร่างของ icon รวมถึงความเร็วของลิ๊งค์ internet สำคัญมากสำหรับผู้ใช้ และเป็นหัวข้อที่ต้องศึกษาและวิจัยอย่างละเอียดก่อนที่จะเริ่มสร้างระบบขึ้น มา
  2. Business – ทางทีมงานมาเลย์เข้าใจดีเช่นเดียวกันว่าการผลิตหนังออกมาอย่างเดียวไม่พอ แต่ต้องสร้างตลาดสำหรับหนังที่ออกมาฉาย และต้องสอนวิธีการจัดการบริหารงานให้กับบริษัททั้งหมด ส่วนสำหรับ Renderfarm เองก็มีวิธีการให้ credit สำหรับคนที่จะมาใช้ระบบ renderfarm เพื่อ ให้สามารถมาใช้ระบบได้ แต่ไม่ได้ใช้เยอะจนกระทั่งว่าคนอื่นๆที่อยากใช้ไม่สามารถเข้ามาใช้ได้
  3. System – ท้ายสุดแล้วก็มาถึงระบบของ renderfarm เองซึ่งจะถูกออกแบบมาเพื่อ ให้บรรลุวัตฒุประสงค์ของข้อ 1 กับ ข้อ 2 ได้ทั้งหมด ตราบดที่สามารถทำได้จริงๆแล้วรายละเอียดอื่นๆก็ไม่สำคัญเลย


ถ้าประเทศไทยมีการจัดการบริหารองค์ประกอบโดยรวม รับรองว่า Renderfarm แห่งชาติสามารถประสบความสำเร็จได้อย่างแน่นอน

Share

Copyright © 2010. All Rights Reserved.

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *