ใช้ GIS หาบ้านสำหรับคนเรื่องมาก

หากสมมุติว่าคุณเป็นนายหน้าอสังหาริมทรัพย์และมีลูกค้าที่มาพร้อมกับโจทย์สุดหิน สิ่งที่ลูกค้าต้องการก็คือ ที่อยู่อาศัยที่ใกล้สถานีรถไฟ ใกล้ร้านสะดวกซื้อ ใกล้สวนสาธารณะที่มีสนามเด็กเล่น ใกล้ร้านกาแฟ แถมยังต้องอยู่ในย่านที่ไม่มีผู้คนจอแจอีกด้วย คุณจะทำอย่างไร? โปรแกรม QGIS กับ OpenData ช่วยสรรหาบ้านที่ถูกใจให้กับคุณได้อย่างไร เรามาดูกัน

สิ่งแรกก็คือดาวน์โหลดโปรแกรม QGIS เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลพื้นที่ให้กับเรา โดยเข้าไปที่ http://www.gadm.org/country เลือก admin boundary เป็นประเทศไทย และเลือกประเภทของไฟล์ เป็น shapifile เมื่อดาวน์โหลดแล้วจะเจอไฟล์ THA_adm1.shp ให้ลากไฟล์ดังกล่าว เข้าไปใน Layers Panel ตามภาพ

ขั้นตอนถัดมาให้คลิกขวาที่ THA adm1 ใน Layers Panel แล้วเลือก filter ป้อนคำสั่ง

“NAME_1” = ‘Bangkok Metropolis’ OR “NAME_1” = Nonthaburi’ OR “NAME_1” = ‘Pathum Thani’ OR “NAME_1”= ‘Samut Prakan’ OR “NAME_1” = ‘Samut Sakhon’ OR “NAME_1” = ‘Nakhon Pathom’

แล้วกด OK โปรแกรมจะกรองข้อมูลให้อยู่ในเขตกรุงเทพและปริมณฑล ต่อมาให้ไปเปิด Processing Toolbox โดยไปที่ Processing >Toolbox แล้วเลือก Reproject layer ตามภาพ

ในช่อง Input layer ให้เลือก THA_adm1 ในช่อง Target CRS ให้กดปุ่ม แล้วเลือก EPSG24047 และในช่อง Reprojected ให้พิมพ์คำว่า memory: (ใน memory layer จะบันทึกข้อมูลไม่ได้ หากต้องการบันทึกให้กดปุ่ม แล้วเลือกเซฟลงไฟล์)

หลังจากนั้นในหน้าจอหลักบริเวณล่างขวาจะมีปุ่ม ที่อยู่ทางด้านล่างขวาของจอหลัก เลือก “Enable on the fly CRS Transformation (OTF)” แล้วเลือก Indian 1975 / UTM zone 47N EPSG:24047

ในช่อง Layers Panel ให้เปลี่ยนชื่อจาก Reprojected เป็น Bangkok Metropolis แล้วลบ Layer เก่าทิ้งโดยคลิกขวา แล้วกด remove

ขั้นตอนต่อไปให้ไปที่ Plugins -> Manage and Install Plugins แล้ว search หา QuickOSM แล้วกด install

ต่อมาเราจะทำการโหลดข้อมูลสถานีรถไฟ โดยไปที่ Vector->QuickOSM->Dock->Quick Query เนื่องจากเราต้องการข้อมูลเกี่ยวกับสถานีรถไฟ จึงใส่คำว่า railway ในช่อง Key และใส่คำว่า station ในช่อง Value ส่วนช่องของ Extent of layer ให้เลือกคำว่า bangkok metropolis และในช่อง Advance ให้เลือกคำว่า Node, Relation, Point จากนั้นกด Run query ซึ่งจะปรากฏ layer ของสถานีรถไฟขึ้นมาทางด้านซ้ายมือ ตามภาพ

หลังจากได้ข้อมูลสถานีรถไฟแล้ว เราก็กำหนดรัศมีรอบ ๆ สถานีรถไฟ ในที่นี้จะกำหนดไว้ที่ 500 เมตร การกำหนดรัศมีทำได้โดยการ เข้าไปที่ Reproject Layer เลือก QGIS Geoalgorithm ใน Processing Toolbox จากนั้นให้เลือก Vector Geometry tools และ Fixed Distance Buffer ตามลำดับ และตั้งค่าตามภาพ

จะเห็นได้ว่ามีภาพวงกลอมรัศมี 500 เมตรขึ้นมาล้อมรอบสถานีรถไฟ

ต่อมาเป็นการหาข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ในย่านที่ไม่จอแจ โดยเราจะเลือกสถานที่ที่อยู่ในย่านถนนสายหลัก ให้เข้าไปที่ Vector->QuickOSM->Dock->Quick Query ใน QuickOSM ช่อง Key ให้ใส่คำว่า highway ช่อง Value ใส่คำว่าmotorway ,trunk, primary แล้วเลือกคำว่า way, relation, line ในช่อง Advance เพื่อการจัดการที่ง่ายขึ้น เราจะรวม layer ของถนนเข้าด้วยกัน โดยไปที่ Reproject Layer ใน Processing Toolbox แล้วเลือก vector general tools -> Merge vector layer แล้วเลือก layers to merge -> highway_trunk, highway_motorway, highway_primary พิมพ์ memory: ในช่อง Buffer แล้วกด Run query หลังจากนั้นลบ layer highway ทั้งหลายทิ้ง จากนั้นให้กำหนดรัศมี ในที่ที่จะกำหนดไว้ที่ 200 เมตร โดยเข้าไปที่ Reproject Layer เลือก QGIS Geoalgorithm ใน Processing Toolbox จากนั้นให้เลือก Vector Geometry tools และ Fixed Distance Buffer ตามลำดับ แล้วใส่ตัวเลข 200 ที่ช่อง Distance

จากนั้น ในการหาสถานที่ที่เงียบสงบและใกล้สถานีรถไฟ ให้เข้าไปที่ Vector overlay tools-> Difference ในช่อง input ให้ใช้ buffered railway station ช่อง difference จะใช้ buffered highway และในส่วนของช่อง output ให้เซฟเป็นไฟล์และตั้งชื่อว่า Quiet Area.shp เพียงเท่านี้เราก็จะได้ข้อมูลพื้นที่ที่เงียบสงบและใกล้สถานีรถไฟ

ในการหาร้านสะดวกซื้อ ให้เข้าไปที่ Vector->QuickOSM->Dock->Quick Query ใน QuickOSM ช่อง Key ให้ใส่คำว่า shop ช่อง Value ให้ใส่คำว่า supermarket, convenience, department_store, mall ส่วนช่อง Advance ให้เลือกคำทั้งหมด จากนั้นให้รวม layer ร้านสะดวกซื้อทั้งหมดเข้าด้วยกัน โดยไปที่ Reproject Layer ใน Processing Toolbox แล้วเลือก vector general tools -> Merge vector layer แล้วเลือก layers to merge ในช่อง Buffer พิมพ์ว่า memory: กด Run queryแล้วตั้งชื่อไฟล์ว่า Convenient Store

นำข้อมูลที่หาได้มารวมกันโดยการเข้าไปที่ Vector overlay tools -> Intersection ตั้ง Quiet Area เป็น Input layer แล้ว intersect กับ Convenient Store จะได้พื้นที่ที่มีร้านสะดวกซื้อ ใกล้สถานีรถไฟและเงียบสงบ โดยตั้งชื่อ Layer นี้ว่า Convenient Area

จากนั้นจะเป็นการหาร้านกาแฟ เข้าไปที่ Vector->QuickOSM->Dock->Quick Query ใน QuickOSM ช่อง Key ให้ใส่คำว่า amenity ส่วนช่อง Value ให้ใส่คำว่า cafe ต่อมาก็เลือก Reproject layer ใน Processing Toolbox ในช่อง Buffer พิมพ์ว่า memory: เช่นเดิม กด Run query และตั้งชื่อไฟล์ว่า Café จากนั้นก็รวมข้อมูลร้านกาแฟที่ได้กับข้อมูลก่อนหน้านี้เข้าด้วยกัน โดยการเข้าไปที่ Vector overlay tools -> Intersection ตั้ง Convenient Area เป็น Input layer แล้ว intersect กับ Café และตั้งชื่อว่า Near Café เราก็จะได้พื้นที่ที่มีร้านสะดวกซื้อ ใกล้สถานีรถไฟ ใกล้ร้านกาแฟและเงียบสงบ

สิ่งสุดท้ายที่เราต้องการก็คือสวนสาธารณะที่มีสนามเด็กเล่น บางทีสวนสาธารณะก็ไม่ได้มีสนามเด็กเล่นเสมอไปแต่อาจจะมีสวนสาธารณะที่มีสนามเด็กเล่นอยู่ในบริเวณใกล้เคียง เราจึงสร้าง layer ขึ้นมาสองอันโดย QuickOSM เริ่มแรกเราจะหาสวนสาธารณะ โดยเข้าไปที่ Vector->QuickOSM->Dock->Quick Query ใน QuickOSM ช่อง Key ให้ใส่คำว่า leisure ส่วนช่อง Value ให้ใส่คำว่า park ต่อมาก็เลือก Reproject layer ใน Processing Toolbox ในช่อง Buffer พิมพ์ว่า memory: กด Run query และตั้งชื่อไฟล์ว่า Park ในการหาสนามเด็กเล่นก็เข้าไปที่ Vector->QuickOSM->Dock->Quick Query ใน QuickOSM ช่อง Key ให้ใส่คำว่า leisure ส่วนช่อง Value ให้ใส่คำว่า park ต่อมาก็เลือก Reproject layer ใน Processing Toolbox ในช่อง Buffer พิมพ์ว่า memory: กด Run query และตั้งชื่อไฟล์ว่า Playground

จากนั้นไปที่ Vector Selection Tools -> Select by location เพื่อที่จะเลือกสวนสาธารนะที่มีสนามเด็กเล่น โดยใช้ Buffer Layer ของสวนสาธารณะเป็น layer แรก ส่วน additional layer ให้เลือก Reproject Layer ของ Playground
หากทำออกมาแล้วได้ Playground Layer สองอัน เช่นอันหนึ่งเป็น POI และอีกอันหนึ่งเป็น Area ให้ทำซ้ำ โดยให้เปลี่ยนจาก creating new selection เป็น adding to current selection ตามภาพ

 

ขั้นตอนสุดท้ายคือการรวมข้อมูลพื้นที่ทั้งหมดที่หาได้เข้าด้วยกันเพื่อให้ได้พื้นที่ที่ต้องการ โดยเข้าไปที่ Vector overlay tools -> Intersection โดยการเลือก Buffer Park เป็น input layer แล้ว intersect กับ Near Cafe เพียงเท่านี้ เราก็จะได้พื้นที่อยู่อาศัยที่ใกล้สถานีรถไฟ ใกล้ร้านสะดวกซื้อ ใกล้สวนสาธารณะที่มีสนามเด็กเล่น ใกล้ร้านกาแฟ และเงียบสงบไม่จอแจ ซึ่งแสดงออกมาในเขตพื้นที่สีม่วง ตามภาพด้านล่างครับ

ถ้ามีความคิดเห็นเพิ่มเติม ฝากไว้ใน comment ได้ครับ

(ขอบคุณ อ.ดร.กรวิก ตนักษรานนท์ ที่ช่วยตรวจสอบ และ คุณจุฑามาส ปั้นทอง ที่ช่วยเรียบเรียง)

Share

CC BY 4.0 This work is licensed under a Creative Commons Attribution 4.0 International License.

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *